GISTDA ทดลองส่ง “ผัดกะเพรา” ขึ้นชั้นบรรยากาศด้วยบอลลูน (มีคลิป) - ข่าวออนไลน์ ข่าวด่วน ข่าววันนี้ การเมือง บันเทิง ข่าวอาชญากรรม SBCT

Breaking

Post Top Ad

rTr0df.jpg

Post Top Ad

rTnhMg.jpg

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

GISTDA ทดลองส่ง “ผัดกะเพรา” ขึ้นชั้นบรรยากาศด้วยบอลลูน (มีคลิป)

 


            ทีม GISTDA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรอย่างช่องรายการ Retired Working for You (RW4U) ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติบึงบอระเพ็ด แหล่งท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมภารกิจทดลองส่งเมนูเด็ดของไทย “ผัดกะเพรา” ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศด้วยบอลลูน high-altitude
            การจัดกิจกรรมครั้งนี้ บอลลูนดังกล่าวจะลอยไปถึงความสูงที่มีบรรยากาศรอบข้างใกล้เคียงกับสภาวะอวกาศ เพื่อทดสอบและศึกษาว่า “ผัดกะเพรา” จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือไม่ เมื่อเราใช้ “บอลลูนทำภารกิจ”
            การทดลองทางวิทยาศาสตร์อวกาศด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ครั้งนี้ จะใช้เป็นต้นแบบและแนวทางในการทดลองงานวิจัยทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ หรือ เป็นการสร้างแพลตฟอร์มการทดลองงานวิจัยด้วยบอลลูน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการทดลองงานวิจัยในอวกาศ ของ GISTDA เพิ่มเติมจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการให้บริการส่งงานวิจัยไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และห้องปฏิบัติการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (Micro-X) ที่ GISTDA ศรีราชา


            การทดลองครั้งนี้ นอกจากจะสร้างรูปแบบการศึกษาวิจัยที่ไม่ได้อยู่ในห้องแลปหรือบนพื้นโลกแล้ว ยังเป็นต้นแบบการพัฒนาใช้ประโยชน์ห้วงอากาศที่มีความสูงที่เลยเพดานบินขึ้นไปและไม่ถึงอวกาศ คืออยู่ระหว่าง 30-100 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย และการใช้บอลลูนขนาดใหญ่ครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการตั้งฐานวิจัยหรือฐานส่งจรวดในห้วงอากาศสูงให้กับประเทศได้ และที่สำคัญจะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อวกาศที่ประเทศเรายังไม่เคยมี
            “เทคโนโลยีอวกาศที่จากนี้เราจะพัฒนาและทดลองได้เองในสภาวะที่ใกล้เคียงอวกาศมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะเป็นการพัฒนาชิ้นงานและทดสอบแบบ space grade จริงๆ”
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนกิจการด้านอวกาศที่ประเทศไทยกำลังจะมี พ.ร.บ. กิจการอวกาศ และการพัฒนาแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติก็จะมีคุณค่าและความสำคัญมากยิ่งขึ้น ตลอดจนแผนการวิจัยในระบบโลกและอวกาศ หรือ Earth Space System (ESS) ที่เป็นแผนด้านการวิจัยขั้นสูง (Frontier Research) ของประเทศด้วยครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad

rTnhMg.jpg