
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดสึนามิ
- เตรียมตัวล่วงหน้า หากเราอาศัยอยู่ หรือ กำลังเดินทางไปเที่ยวสถานที่ใกล้ชายฝั่งทะเล ควรหาเวลาศึกษาสภาพภูมิประเทศของแหล่งนั้นๆ ก่อน ว่าเราสามารถเดินทางขึ้นที่สูงด้วยเส้นทางไหนได้บ้าง
- ถ้าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง ไม่ควรรอให้ทางการประกาศเตือนภัย สึนามิอาจจะซัดถล่มได้ทุกเมื่อ
- ประกาศเตือนภัยเมื่อไหร่ ควรอพยพโดยทันที ถึงเวลาจะมีเหลือน้อย แต่เราควรหยิบอุปกรณ์ฉุกเฉินสำหรับอพยพติดตัวไปด้วย เพื่อการดำรงชีวิต
- หนีไปยังพื้นที่สูง แนะนำว่าสูงกว่า 30 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และห่างจากชายฝั่ง 4-5 กิโลขึ้นไป ยิ่งสูงยิ่งไกลยิ่งดี หากหนีไม่ได้ อาจจะปีนต้นไม้ หรือ ขึ้นไปบนตึกสูง เพื่อความปลอดภัย
- หากหนีไม่พ้น คลื่นน้ำมาถึงตัวก่อน ให้จับหรือเกาะ สิ่งของอะไรก็ได้ที่สามารถลอยอยู่เหนือพื้นน้ำ
- ไม่ควรทึกทักเอาเองว่าสถานการณ์สงบ จนกว่าจะมีประกาศจากศูนย์เตือนภัย เพราะคลื่นลูกใหม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาไม่ถึงชั่วโมง
มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
- เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
- เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
- สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง
- ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก
- ลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้
- ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
- หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
- หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
- วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
- จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
- ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
- วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
- อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน
- คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น